เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุ... มีสติ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ได้แก่
ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
คำว่า มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ รวมความว่า มีสติ
คำว่า ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ 4
ประการ คือ
1. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือสีลสังวร
2. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร
3. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา
4. ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค
ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือสีลสังวร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย พิจารณาเห็นความเน่าเสียภายใน ประพฤติธรรมอันเป็นส่วน
สุดรอบ คือสีลสังวรภายใน ไม่ทำลายกฎเกณฑ์ นี้ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือ
สีลสังวร
ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อสำรวมอยู่ด้วยดีแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศล-
ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำไม่ได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู... ดมกลิ่นทางจมูก... ลิ้มรสทางลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ทางกาย... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
สำรวมในมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อสำรวมอยู่ด้วยดีแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :584 }